วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555


หน่วยการเรียนที่ 8

เครือข่ายอินเทอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก 
มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต
            โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง
            ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)
 
การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
            การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name  และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้
            1.เครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC
            2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน   โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป  ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)
            โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
            1.โมเด็มภายใน (internal modem) 
เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
            2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port)  เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน
            3. โทรศัพท์  เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม  เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์  ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต  จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
            4.ซอฟต์แวร์
  ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ         1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต  ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
       2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
       3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
            5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ
บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
           อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
            1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น
            2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address
            3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด
            4. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น
            5. การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา
            6. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
            7. การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต Network
ต้นกำเนิดของอินเตอร์เน็ต
- จุดกำเนิดของอินเตอร์เน็ตเริ่มในทศวรรษที่ 1960 ในสมัยนั้นมีการใช้คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe) อย่างแพร่หลาย ส่วนคอมพิวเตอร์แบบพีซียังไม่มี ความคิดที่พยายามทำให้คอมพิวเตอร์เมนเฟรมทั้งหลายสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ทั้งระยะใกล้และระยะไกลนั้นเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น และเนื่องจากยุคนั้นเป็นยุคของสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตด้วย ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐจึงเห็นว่าการติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างคอมพิวเตอร์ถือได้ว่ามีประโยชน์ด้านทหาร
- เพื่อให้ความคิดนี้เป็นจริง ดังนั้นในปี ค.ศ 1968 หน่วยงานที่ชื่ออาร์พา (Advance Research Project Agency , ARPA ) ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (U.S Department of Defense, DOD) จึงมีโครงการที่จะทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ในช่วงแรกทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากสี่สถานที่ด้วยกันคือ
            สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SRI International)
            มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส (University of California, Los Angeles(UCLA))
            มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา(University of California, Santa Barbara(UCSB))
            มหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah)
คอมพิวเตอร์จากสถานที่ทั้งสี่เริ่มสามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1969
อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ  พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย
สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด
ประวัติความเป็นมาของระบบอินเทอร์เน็ต
พ.ศ. 2510
            เป็นจุดเริ่มต้นของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเริ่มก่อตั้งเครือข่ายที่เรียกว่าอาร์ปาเน็ต (ARPANET หรือ Advanced Research Project Agency) เป็นเหตุผลทางทหารในยุคสงครามเย็น ซึ่งสหรัฐกลัวว่ารัสเซียอาจยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์ เข้ามาถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุด ซึ่งอาจทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันอยู่เป็นอัมพาต จึงได้ริเริ่มงานวิจัยเครือข่ายใหม่ซึ่งเป็น เครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์
พ.ศ. 2512
            โครงการอาร์ปาเน็ต (ARPANET) ได้เริ่มงานวิจัยในเดือนมกราคมในรูปแบบที่ไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) โดยตรง แต่ใช้คอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ที่เชื่อมถึงกันด้วยสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านการสื่อสารโดยเฉพาะแต่ละ IMP สามารถเชื่อมต่อได้หลายโฮสต์ และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2512 ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในลอสแองเจลิส สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานตาบาบารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ โดยแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีโฮสต์ต่างชนิดกัน และใช้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่เรียกว่าแพ็กเก็ตสวิตชิง(packet Switching) 
พ.ศ. 2515
            เครือข่าย ARPANET ได้ขยายไปสู่สถาบันต่าง ๆ ถึงกว่า 50 แห่ง เพื่อใช้ในการค้นคว้าและวิจัยทางการทหารเป็นส่วนใหญ่ โดยคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายนี้จะมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ซึ่งมีข้อจำกัดในด้านจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับ ARPANET ทำให้ไม่สามารถขยายจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบได้
พ.ศ. 2525
            ได้มีการพัฒนามาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลใหม่ ที่เรียกว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่ ARPANET ได้วางรากฐานให้กับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ และถือเป็นมาตรฐานที่เป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน 
พ.ศ. 2527
            มีเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตเข้าด้วยกันถึง 1,000 เครื่อง โดยขยายการเชื่อมต่อเข้าไปสู่มหาวิทยาลัยและองค์กรเอกชนด้วย
พ.ศ. 2529
            มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation: NSF) ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบใหม่ของ ARPANET มาใช้เพื่อเชื่อมหน่วยงานในภูมิภาคต่าง ๆ เข้ากับศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยมีการแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน จึงเป็นที่มาของ ?เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือ CSnet 
พ.ศ. 2532
            มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อในระบบอินเตอร์เน็ตมากถึง 10,000 เครื่อง จึงได้มีการขนานนามใหม่ว่าอินเตอร์เน็ต (Internet)
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
พ.ศ. 2530
            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษา โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลียโดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านทางโมเด็มด้วยระบบ MSHnet และ UUCP โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลระหว่างประเทศวันละ 4 ครั้ง
พ.ศ. 2535
            สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายไทยสาร (Thaisarn : Thai Social/scientific, Academic and Research Network)เพื่อพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่
1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
พ.ศ. 2536 
เครือข่ายไทยสารขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐเพิ่มเป็น 19 แห่ง โดยทาง NECTECได้ทำการเช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล
พ.ศ. 2537
            ประเทศไทยมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งสิ้น 35 เครือข่าย เป็นคอมพิวเตอร์รวมทั้งสิ้น 1,267 เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจัดได้ว่าประเทศไทยมีเครือข่ายใหญ่เป็นอันดับ 6 ในย่านเอเซียแปซิฟิก รองจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และนิวซีแลนด์
ปัจจุบัน
            เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร และขยายตัวออกส่วนภูมิภาคแล้ว เครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะให้บริการเชิงธุรกิจ ส่วนเครือข่ายไทยสารยังคงให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐโดยไม่หวังผลกำไร

ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต


ความหมายของอินเตอร์เน็ต
             อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด 
              อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร   เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ 

กำเนิดอินเตอร์เน็ต 
                อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก 
                 การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลักปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตบริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย 
             ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตSritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัทDEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)

               ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
  
วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
        - การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backboneของอินเตอร์เน็ต โดยผ่าน เกตเวย์(Gateway) หรือ IP Routerสายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก
        - การเชื่อมโยงต่อผ่าน Internet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ต โดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์
     เป็นโปรแกรมสำหรับแปลง Tags ที่กำหนดในเว็บเพจ HTML ให้กลายเป็นตัวอักษร/ภาพ/เสียง
          - NCSA Mosaic
          - Netscape Navigator
          - Microsoft Internet Explorer
          - Opera
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ NCSA Mosaic
      สร้างโดย Marc Andressen โปรแกรมเมอร์ของ NCSA(National Center for Supercomputing Applications)เป็นโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวแรกสุดที่สามารถแสดงผลแบบรูปภาพ เสียง และภาพยนต์ ได้นอกจากการเชื่อมโยงเอกสารทั่วไปสามารถใช้งานได้บน Windows, Macintosh, X-Windowsมีการให้บริการ E-mail, FTP, Usenet News ไว้ด้วยเป็นต้นแบบของโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ตัวอื่นๆในปัจจุบัน
โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Netscape Navigator
        Marc Andressen กับ James H.Clark ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Mosaic Communication Corporation ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Netscape Communications Corporationเป็นโปรแกรมยอดนิยมที่เป็นคู่แข่งสำคัญของ Microsoftมีการพัฒนาให้สามารถรับรู้คำสั่งหรือ Tags ใหม่ๆที่มีอยู่ใน HTML รุ่นใหม่ และสนับสนุนภาษา Java และ Javascript

โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ Microsoft Internet Explorer
               ผลิตโดยบริษัท Microsoft ผู้ผลิตโอเอส DOS, Windows ฯลฯเกิดจากการซื้อลิขสิทธ์โปรแกรม NCSAMosaic มาพัฒนาต่อเป็น Internet Explorer(IE) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows 95, 98, NT, MacOSเพิ่มขีดความสามารถให้แสดงภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ได้มีการออกคำสั่ง HTML ใหม่ๆที่ใช้งานได้กับเบราเซอร์ของตน



World Wide Web(WWW) คืออะไร
                  เกิดขึ้นในปี 1989 โดย Tim Berners-Lee แห่งห้องปฏิบัติการ CERNเป็นบริการหนึ่งที่มีอยู่ในอินเตอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเตอร์ง่ายขึ้น ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่งของยูนิกซ์อีกต่อไปเป็นการแสดงเอกสารที่อยู่ในรูปของสื่อผสม(Multimedia) ที่เรียกว่าเว็บเพจ(Web Page) ที่ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว วีดีโอ และไฮเปอร์เท็กซ์(Hypertext) 


ส่วนประกอบของ WWW
             แหล่งข้อมูลหรือเว็บไซต์(Web Site)โปรแกรมเว็บบราวเซอร์(Web Browser)เว็บไซต์หรือเว็บเซิรฟ์เวอร์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นแหล่งเก็บ เว็บเพจ เว็บบราวเซอร์ หรือเว็บไคลเอ็นต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการเข้าสู่ WWW เพื่อเปิดดูเว็บเพจในเว็บไซต์       IP Address, DNS, E-mail Address และ URL
 IP Address คืออะไร
                เป็นหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดที่คั่นกันด้วยเครื่องหมายจุด(.) เช่น 202.44.194.6 ตัวเลขในแต่ละชุดจะมีขนาด 8 บิต แต่ละชุดจึงมีค่าตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง 28-1 = 255 เท่านั้นโฮสต์คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องขอหมายเลข IP นี้จากหน่วยงาน Internet Network Information Center(InterNIC) ขององค์กร Network Solution Incorporated(NSI) สหรัฐอเมริกาผู้ใช้ธรรมดาทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิกกับหน่วยงานที่ให้บริการอินเตอร์เน็ต(Internet Service Provider หรือ ISP) เพื่อรับหมายเลข IP จาก ISP ได้
Social Network
            คือการที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเ ทศที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น
           สำหรับตัวอย่าง Social Network อื่น ๆ เช่น Hi5 หรือว่า Facebook ซึ่งเรียกได้ว่าเป็น social network เต็มรูปแบบอีกอย่างหนึ่ง ที่ให้ผู้คนได้มามีพื้นที่ ได้ทำความรู้จักกันโดยเลือกได้ว่า ต้องการทำความรู้จักกับใคร หรือเป็นเพื่อนกับใคร
เมื่อหันมามองเว็บไซต์ไทย ๆ กันดูบ้าง หากมองว่าเว็บไซต์ Social Network ในไทย จะมีเว็บไหนได้บ้าง ลองดูเว็บไซต์ Social Network ที่มีความชัดเจนในเนื้อหาเฉพาะด้าน เช่น Social Network เรื่องท่องเที่ยว อย่างเว็บไซต์ odoza (โอโดซ่า) ที่ให้คนที่ชื่นชอบในเรื่องท่องเที่ยว ได้มาทำความรู้จักกัน ได้มีพื้นที่ให้ share รูปภ าพ หรือวีดีโอคลิป ที่ตนเองได้ไปเที่ยวมาได้


ความเป็นมาเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
ปี  ค.ศ. 1963 Advanced Research Projects Agency (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ริเริ่มโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สื่อสารระยะไกล
ได้ตั้งโครงการที่ชื่อว่าARPANET โดยเป็นโครงการวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ
เครือข่าย ARPANET ได้ถูกกปรับปรุงพัฒนาให้มีความสมบรูณ์ขึ้นเรื่อยๆและได้นำไปใช้ในสถาบันการศึกษา และองค์กรพาณิชย์
จนพัฒนาเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต
โครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย
โปโตคอล (Protocol)
ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System)
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP)
โครงสร้างพื้นฐานระบบเครือข่าย
อินเตอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเครือข่ายเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ได้แก่
ระบบเครือข่ายย่อย ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลหรือขององค์กรที่ต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่น LAN, MAN หรือ WAN
ระบบโครงข่ายการสื่อสารเช่นโครงข่ายโทรศัพท์โครงข่ายFiber Optics หรือระบบดาวเทียมเป็นต้น
เร้าเตอร์ (Router) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำหรับจัดการเส้นทางจารจรของข้อมูลที่
ส่งผ่านอินเตอร์เน็ต
Router
เราท์เตอร์ (Router) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่มีหน้าที่จัดเส้นทางที่เหมาะสมในการส่งข้อมูล จากเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง
เราท์เตอร์สามารถจัดเส้นทางได้แบบพลวัต (Dynamic) หมายถึงการส่งข้อมูลไม่จำเป็นต้องส่งไปยังเส้นทางเดิมเสมอ
ความสามารถพิเศษที่อาจมีได้คือ การเลือกกรอง (Filter) ข้อมูล ว่าจะให้ส่งผ่าน
เครือข่ายไปได้หรือไม่ซึ่งการเลือกกรองจะช่วยลดปัญหาความคับคั่งของการ
สื่อสารและการเพิ่มความปลอดภัยในเครือข่าย
โปโตคอล (Protocol)
โปรโตคอลคือข้อตกลงที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานในการสื่อสารของระบบเครือข่าย
เครื่องคอมพิวเตอร์ใดที่ต้องการจะเข้าร่วมเครือข่ายจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในโปโตคอลของระบบเครือข่ายนั้น
โปรโตคอลของอินเตอร์เน็ต เรียกว่าTCP/IP
– TCP (Transmission Control Protocol) ใช้สำหรับควบคุมรูปแบบการส่งข้อมูล ใน
อินเตอร์เน็ต
– IP (Internet Protocol) ใช้สำหรับควบคุม เกี่ยวกับการระบุตำแหน่งของหน่วยต่างๆที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
หลักการทำงานพื้นฐานของ TCP/IP
การรับส่งข้อมูล
มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นหน่วยย่อยๆ เรียกว่าPackage
แต่ละPackage จะมีการระบุส่วนหัว (Header) ซึ่งจะต้องระบุถึงที่หมายเลขที่อยู่(IP address) ของปลายทางและต้นทาง และข้อมูลอื่นๆ
แต่ละPackage จะถูก ส่งไปในเครือข่ายซึ่งมีหลายเส้นทางที่จะไปถึงปลายทาง
– Router จะเป็นตัวจัดเส้นทางในการส่งPackages ไปยังโหนดถัดไป
แต่ละPackage อาจไม่ได้ไปเส้นทางเดียวกันทั้งหมดหรืออาจไม่ไปถึงปลายทางพร้อมกันทั้งหมด
เมื่อไปถึงปลายทางเครื่องปลายทางจะรวบรวม Package ทั้งหมดเข้ามาแล้ว คืนสภาพกลับมาเป็นข้อมูลเดิม
IP Address
หมายเลขไอพี (Internet Protocol Address) คือหมายเลขที่ใช้ระบุตำแหน่งในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะต้องกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออปุกรณ์เครือข่ายเช่น เครื่องเราท์เตอร์โดยไม่ให้ซ้ำกัน
แต่ละเครี่องจะมีหมายเลขเฉพาะตัวโดยใช้เลขฐานสองจำนวน 32 บิต โดยการเขียนจะเขียนเป็นชุด 4 ชุดโดยแต่ละชุดจะใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต แต่เพื่อความสะดวกในการจดจำมักจะเขียนในรูปฐานสิบ
การจัดสรรหมายเลข IP
ระบบตัวเลขไอพีที่ใช้ในปัจจุบันเป็นระบบ ไอพีเวอร์ชันที่ 4 (IPv4) ซึ่งจะเป็นระบบ 32 บิตหรือสามารถระบุเลขไอพีได้ตั้ง 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255
หมายเลขถูกจัดกลุ่มไว้5คลาสดั้งนี้
Domain Name
การจดจำหมายเลข IP เป็นเรื่องยากดังนั้นจึงมีการสร้างระบบชื่อขึ้น เพื่อง่ายต่อการจดจำคือระบบชื่อโดเมน (Domain Name System)
ตัวอย่างของชื่อโดเมน www.nu.ac.th ซึ่งมีรูปแบบที่จำง่ายและสามารถเข้าใจความหมายได้ง่าย


ความหมายของชื่อโดเมน
 ความหมายของซับโดเมน
Domain Name ระดับประเทศ
นายทะเบียน (Registrars)
• InterNIC คือองค์กรซึ่งทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักคอยกำกับควบคุมการจดชื่อโดเมน เพื่อไม่ให้มีชื่อที่ซ้ำซ้อนเกิดขึ้น
• InterNIC ได้มอบหมายให้บริษัทเอกชนต่างๆ ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนรับจดทะเบียนชื่อโดเมน
ซึ่งเจ้าของชื่อโดเมนจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการขอจดทะเบียนเป็นรายปี
Domain Name Server
• Domain Name Server คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ในการจัดเก็บชื่อโดเมนและระบุหมายเลข IP ของชื่อโดเมนนั้นเพื่อให้แจง้ให้กับเครื่องอื่นที่มาขอบริการทราบ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต  (Internet Service Provider: ISP)
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) คือผู้ที่ลงทุนวางโครงสร้างพื้นฐานในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และขายบริการในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตให้กับผู้ใช้บริการซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปหรือองค์กร
• ISP จะได้รับค่าตอบแทนจากค่าบริการที่ผู้ใช้บริการจะต้องจ่ายให้
อัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่ประเภทของบริการที่ผู้ใช้ซื้อ
ในประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหลายรายเช่น TOT, Internet Thailand, True Internet, Internet KSC, LoxInfo และอื่นๆ
การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ
ผ่านทางวงจรเช่า (Leased line)
          – ผู้ใช้บริการขอซื้อบริการเครือข่ายจากISP โดยช่องทางการสื่อสารนั้นผู้ใช้บริการจะมีสิทธิได้ใช้เพียงรายเดียวไม่ต้องใช้ร่วมกับผู้ใช้บริการรายอื่นซึ่งจะได้รับบริการอย่างเต็มที่และมีความปลอดภัยสูง
ผ่านทางระบบโทรศัพ์ทพื้นฐาน
          – ใช้โครงข่ายของโทรศัพท์เป็นตัวกลางในการส่งสัญญาณไปยัง ISP
          – สัญญาณโทรศัพท์เป็นสัญญาณแบบอนาล็อกดังนั้นจะต้องใช้MODEM ใน
การแปลงสัญญาณจึงจะสามารถส่งผ่านโครงข่ายโทรศัพท์ได้
Modem
• MODEM (Modulate and Demodulate) คืออปุกรณ์ที่ทำการแปลงสัญญาณ ดังนี้
แปลงจาก Digital เป็น Analog
แปลงจาก Analog กลับไปเป็น Digital
• MODEM ในปัจจุบันเป็นแบบ DSL MODEM ซึ่งมีการแบ่งช่องสัญญาณเป็น
ช่องสัญญาณสำหรับการสนทนาโทรศัพท์และ
ช่องสัญญาณสำหรับการรับและส่งข้อมูล
สามารถคุยโทรศัพท์ได้ในขณะใช้อินเตอร์เน็ต
• ADSL คือ MODEM ที่มีการกำหนดความเร็วในการรับและส่งไม่เท่ากัน
ADSL MODEM
การเชื่อมต่อไปยังผู้ให้บริการ
ผ่านทางระบบเครือข่ายไร้สาย
คือการใช้ช่องสัญญาณของระบบโทรศัพท์ไร้สายเชื่อมต่อไปยัง ISP
ปกติผู้ให้บริการโทรศัพท์ไร้สายจะให้บริการอินเตอร์เน็ตด้วย
ผู้ใช้บริการโทรศัพท์จะต้องขอเปิดบริการอินเตอร์เน็ตและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม
3G
• 3G คือมาตรฐานการสื่อสารของโทรศัพท์ไร้สายที่กำหนดโดย International Telecommunication Union ได้ระบุถึงบริการในการรับส่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความเร็วสูง
บริการบนระบบ 3G ได้แก่ VDO Conference, High Speed Internet เป็นต้น
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลของระบบ 3G
– 14.0 Mbit/s (1.75 MB/s) ในการ download
– 5.8 Mbit/s (0.725 MB/s) ในการ upload
ปัจจุบันประเทศไทยยังจัดสรรคลื่น 3G ไม่เสร็จเลยเป็นประเทศที่เกือบล้าหลังที่สุดในเอเชียในด้านเทคโนโลยี 3G (มีแนวโน้มว่าไทยจะไม่เอา 3G แล้ว แต่จะเอา 3.9G ไปเลย)
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ (Web Application)
สังคมออนไลน์ (Social Networking)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
สนทนา (Chat)
อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
การติดตามข่าวสาร
การสืบค้นข้อมูล
การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
การอับโหลดและดาวโหลดข้อมูล 
การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์
การเรียนออนไลน์ (e-Learning)
การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference)
โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP)
อื่นๆ
บริการต่างๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• FTP (File Transfer Protocol)
• Email
• IM (Instant Messaging)
• WWW
FTP (File Transfer Protocol)
• FTP คือมาตรฐานโปรโตคอลที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายข้อมูลบนเครือข่ายแบบ TCP/IP
ลักษณะการทำงานเป็นแบบ Client-Server
ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลส่งไปเก็บหรือเรียกกลับมาจากเครื่อง Server ได้
จำเป็นต้องอาศัย Software ที่ทำงานตาม  FTP
Email
อีเมล คือการสื่อสารบนระบบเครือข่ายในรูปแบบจดหมายอีเล็คโทรนิค ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารในแบบ Store and Forward
ผู้ส่งจะส่งจดหมายไปเก็บไว้ยัง Mail Server ของผู้รับโดยระบุชื่อตำแหน่งอีเมล เช่น
xman@hero.com เป็นต้น
ผู้รับจะต้องเข้าไปเช็คจดหมายของตนบน Mail Server
ผู้รับสามารถส่งต่อ (Forward) ไปยังผู้รับรายอื่นได้
โปรโตคอล ที่ใช้สำหรับอีเมลคือ SMTP (Simple Mail Transfer Protocol)
IM (Instant Messaging)
• IM คือรูปแบบการสนทนาแบบ real time ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลการสนทนามักจะเป็นการส่งข้อความ ภาพ หรือ สื่ออื่นๆ ระหว่างผู้สนทนา
ผู้ให้บริการ IM
– MSN Messenger
– Yahoo Messenger
– Google Talk
– Facebook
– Camfrog
– Etc.
บริการ WWW (World Wide Web)
• WWW (World Wide Web)
เอกสาร Hypertext ที่เก็บบนเครื่อง Web Server และต้องทำการอ่านด้วย Web Browser
นอกจากเอกสาร Hypertext แล้วในปัจจุบัน Web Server ยังสามารถสนับสนุนการแสดง Multimedia และการเชื่อมต่อของโปรแกรมๆ (Plug-in) อื่นได้อีกด้วย
• Web Browser ที่ใช้ในปัจจุบัน
– Windows Internet Explorer, Mozilla-Firefox, Apple Safari, Google Chrome, and Opera.
หลักการพื้นฐานของ WWW
มาตราฐานหลักที่ใช้ใน WWW
• Uniform Resource Locator (URL) เป็นระบบมาตรฐานที่ใช้กำหนดตำแหน่งที่อยู่ของเว็บเพจแต่ละหน้า
• Hypertext Transfer Protocol (HTTP) เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บบราว์เซอร์และเซิร์ฟเวอร์
• Hypertext Markup Language (HTML) เป็นภาษากำหนดลักษณะการแสดงผลของข้อมูลในเว็บเพจ
URL (Universal Resource Locator )
• URL ใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการและมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา
ชื่อโปรโตคอลหรือวิธีการติดต่อที่ใช้กันทั่วไปในการดึงเว็บเพจ
HTTP และ HTML

 ความหมายของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายถึง เครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย (http://www.thaiall.com)
            อินเทอร์เน็ต หมายถึง อินเทอร์เน็ต หมายถึง ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการสื่อสารข้อมูล เช่น การบันทึกเข้าระยะไกลการถ่ายโอนแฟ้ม อี-เมล์ และกลุ่มอภิปราย อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการเชื่อมโยงข่าย งานคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ ซึ่งขยายออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อการเข้าถึงของแต่ละระบบที่มีส่วนร่วมอยู่(กิดานันท์ มลิทอง. 2540 : 321)
            อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติที่มีสายตรงต่อไปยังสถาบันหรือ หน่วยงานต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้รายใหญ่ทั่วโลก ผ่านโมเด็ม (modem) คล้ายกับCompuserve ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกศ์ (E-mail) สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมบางโปรแกรมมาใช้ได้แต่จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่งจึงจะได้ผล (ทักษิณา สวนานนท์. 2539 : 157)
            อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายต่างๆจำนวนมาก ที่เชื่อมโยงระบบสื่อสารแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) เครือข่ายที่เป็นสมาชิกของอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายซึ่งกระจายอยู่ในประเทศต่างๆเกือบทั่วโลก เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีชื่อเรียกได้อีกว่า The Net, Cyberspace (วิทยา เรืองพรวิสุทธิ์. 2539 : 60)
            อินเทอร์เน็ตหมายถึง ระบบเครือข่าย (Network) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลาย เครือข่ายเข้าด้วยกันอินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลในทุกๆด้าน ให้ผู้ที่สนใจเข้าไปค้นคว้าหามาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดาย (สิทธิชัย ประสานวงศ์. 2540 : 3)
            จากความหมายที่ได้รวบรวมมาข้างต้นนี้จึงสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต (Internet) คือเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลกโดยใช้มาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol /Internet Protocol)
อินเตอร์เน็ตคืออะไร
อินเตอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวกันของหลายเครือข่ายย่อยทั้งจากส่วนบุคคลหรือจากองค์กร
เจ้าของเครือข่ายย่อยจะต้องลงทุนอุปกรณ์เอง เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่ายที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของโดยเบ็ดเสร็จ
แต่อย่างไรก็ตามเครือข่ายอินเตอร์ก็จำเป็นต้องมีองค์กรคอยกำกับดูแลเพื่อให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและให้มีมาตรฐานในการใช้งานร่วมกัน
เช่น Internet Society คอยกำกับโครงสร้างสถาปัตยกรรมของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
– Internet Engineering Task Force พัฒนาเกี่ยวกับมาตรฐานในการเชื่อมต่อ
หรือ InterNIC ซึ่งคอยกำกับดูแลเรื่องการจดทะเบียนโดเมน เป็นต้น

อินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก

            อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
            ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
            ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2523) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
            ค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อ ศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines : Mosaic 1993, IE 1995, Netscape 1994, Opera 1996, Macintosh IE 1996)
            ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ Internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
            สำหรับการใช้งาน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มต้นการใช้งานในภาครัฐ โดยมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นจุดแรก ประมาณ พ.ศ. 2530 จากนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC จัดสรรเงินทุน งบประมาณ เพื่อการวิจัยการพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยง มหาวิทยาลัยทั่วประเทศทั้งหมด เข้าด้วยกัน สำหรับ ในเชิงพาณิชย์นั้น เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติการ จัดตั้งให้บริษัท KSC เป็นผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP รายแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ทั้งในรูปแบบของ
โปรโตคอลหรือกติกาของอินเทอร์เน็ต
            โปรโตคอล หรือ กติกาของอินเทอร์เน็ต คือ ระเบียบวิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎระเบียบ และข้อกำหนดต่างๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านการสื่อสารได้สำเร็จ ซึ่งมีมากมายหลายชนิด แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องเพียงบางโปรโตคอลเท่านั้น

Tcp/ip กับ ip address
            ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของผู้ใช้จะเป็นแบบใดก็ตาม เช่น พีซีหรือแมคอินทอช ก็สามารถใช้งานโปรโตคอล TCP/IP เพื่อต่อเชื่อมเข้าส ู่อินเตอร์เน็ตได้ วิธีการก็คือเพียงแต่ติดตั้งใช้งานซอฟต์แวร์โปรโตคอล TCP/IP เท่านั้น ส่วนวิธีการและโปรแกรมที่ติดตั้ง จะแตกต่างกันขึ้นกับระบบที่ใช้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป หมายเลข IP (IP Address) การสื่อสารกันในระบบเครือข่าย อินเตอร์เน็ตที่มีโปรโตคอล TCP/IP เป็นมาตรฐานนี้ เครื่องอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่ออยู่ จะต้องมีหมายเลขประจำตัวเอาไว้อ้างอิงให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบเหมือนกับคนทุกคนต้องมีชื่อให้คนอื่นเรียก หมายเลขอ้างอิงดังกล่าวเราเรียกว่า IP Address หรือหมายเลข IP หรือบางทีก็เรียกว่า "แอดเดรส IP" (IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง) ซึ่งถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบ ก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ตั้งแต่ 0 จนถึง 28 -1 = 255 เท่านั้น เช่น 192.10.1.101 เป็นต้น ตัวเลข IP Address ชุดนี้จะเป็นสิ่งที่สำคัญคล้ายเบอร์โทรศัพท์ที่เรามีใช้อยู่และไม่ซ้ำกัน เพราะสามารถกำหนดเป็นตัวเลขได้รวมทั้งสิ้นกว่า 4 พันล้านเลขหมาย แต่การกำหนดให้คอมพิวเตอร์มีเลขหมาย IP Address นี้ไม่ได้เริ่มต้นจากหมายเลข 1 และนับขึ้นไปเรื่อยๆ

เว็บ (web)
            เว็บไซต์ (website, web site, หรือ Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์

ประเภทของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
HTTP โปรโตคอลของเว็บ
     HTTP หรือ Hyper Text Transfer Protocol หมายถึง บริการหรือรูปแบบการเชื่อมต่อประเภทหนึ่งในอินเตอร์เน็ตที่ใช้สำหรับการรับส่งไฮเปอร์เท็กซ์ไฟล์ (ไฟล์เว็บเพจ) จากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง คอมพิวเตอร์ต้นทางเราเรียกว่า HTTP Server หรือ Web Server คอมพิวเตอร์ปลายทาง เรียกว่า HTTP Client หรือ Web Client

HTML ภาษาของเว็บ
     HTML หรือ Hyper Text Mark up Language หมายถึง ภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับสร้างเว็บเพจ ลักษณะเด่นของเอกสาร (หรือเว็บเพจ) ที่เขียนด้วยภาษา HTML คือ สามารถสร้างการเชื่อมโยงหรือลิ้งค์ (link) จากข้อความหรือรูปภาพในเอกสารหน้าหนึ่ง ไปยังเอกสารอีกหน้าหนึ่งได้

World Wide Web
     Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก เรียกย่อว่า เว็บ “ ( Web ) ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า แต่ละหน้าเรียกว่า เว็บเพจ” ( Web Page )

URl (Uniform Resource Locator)
     ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URl) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ ซึ่งไม่ใช่ความหมายที่ถูกต้องและอาจทำให้เกิดความสับสน ในภาษาพูดทั่วไป ยูอาร์แอลอาจหมายถึง ที่อยู่บนเว็บ หรือ ที่อยู่อินเทอร์เน็ต ก็ได้ ซึ่งปกติแล้วเรามักพิมพ์ยูอาร์แอลในแถบที่อยู่ของเว็บเบราว์เซอร์เพื่อเรียกข้อมูลจากเว็บไซต์
การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตจึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านความต้องการ รวมทั้งเงินทุนที่จะใช้ในการติดตั้งระบบด้วย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต
ข้อดี ของการเชื่อมต่อแบบ Dial Up คือ
อุปกรณ์มีราคาถูก
การติดตั้งง่าย
การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ทำได้ง่าย
ข้อเสีย คืออัตราการรับส่งข้อมูลค่อนข้างต่ำเพียงไม่เกิน 56 kbit (กิโลบิต) ต่อวินาที
            2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN?(Internet Services Digital Network)
เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ISDN จะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ คือ
2.1 ต้องติดต่อผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ที่ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ ISDN
2.2. การเชื่อมต่อต้องใช้ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
2.3 ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่จะใช้บริการนี้ อยู่ในอาณาเขตที่ใช้บริการ ISDN ได้หรือไม่
ข้อดี คือไม่มีสัญญาณรบกวน มีความเร็วสูง และยังคงสามารถใช้โทรศัพท์เพื่อพูดคุยไปได้พร้อม ๆ กับการเล่นอินเตอร์เน็ต
            ข้อเสีย คือมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบ Dial-Up
3.การเชื่อมต่อแบบ DSL?(Digital Subscriber Line)
            เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตแบบ DSL ก็คือ
3.1 ต้องตรวจสอบว่าสถานที่ที่ติดตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ให้บริการระบบโทรศัพท์แบบ DSL หรือไม่
3.2 บัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตในแบบ DSL
3.3 การเชื่อมต่อต้องใช้ DSL Modem ในการเชื่อมต่อ
3.4 ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือมีความเร็วสูงกว่าแบบ Dial-Up และ ISDN
ข้อเสีย คือไม่สามารถระบุความเร็วที่แน่นอนได้
4.การเชื่อมต่อแบบ Cable
เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
4.1 ใช้ Cable Modem เพื่อเชื่อมต่อ
4.2 ต้องติดตั้ง Ethernet Adapter Card หรือ Lan Card ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วย
ข้อดี คือถ้ามีสายเคเบิลทีวีอยู่แล้ว สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยเพิ่มอุปกรณ์ Cable Modem ก็สามารถเชื่อมต่อได้
            ข้อเสีย คือถ้ามีผู้ใช้เคเบิลในบริเวณใกล้เคียงมาก อาจทำให้การรับส่งข้อมูลช้าลง
5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) 
            เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม คือ
5.1 จานดาวเทียมขนาด 18-21 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวรับสัญญาณจากดาวเทียม
5.2 ใช้ Modem เพื่อเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
ข้อเสีย ของการเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) ได้แก่
5.1 ต้องส่งผ่านสายโทรศัพท์เหมือนแบบอื่น ๆ
5.2 ความเร็วในการรับส่งข้อมูลต่ำมากเมื่อเทียบกับแบบอื่น ๆ
5.3ค่าใช้จ่ายสูง
มารยาทในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
มารยาทในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
  • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
  • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
  • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
  • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
  • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
  • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
  • ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
  • ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
  • ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
            เครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือระบบเครือข่ายสากล ที่เกิดจากการรวมระบบเครือข่ายขนาดเล็กให้สื่อสาร และ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ โดยเป็นเครือข่ายที่มีเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งเปิดกว้างสู่สาธารณะอย่างแพร่หลาย หรืออาจกล่าวได้ว่า อินเตอร์เน็ตเป็นการผสมผสานกันของระบบเครือข่ายที่แตกต่างกันทั่วโลกให้เป็นหนึ่งเดียวกัน สำหรับ ผู้ใช้ส่วนใหญ่นั้นจะสามารถเข้าถึงและใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ โดยเชื่อมต่อผ่านทางโมเด็ม และสายโทรศัพท์ แต่ในความเป็นจริงนั้นเทคโนโลยีและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในเครือข่ายนี้มีอยู่มากมายหลากหลาย ซึ่งมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยจะประกอบไปด้วยเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) เกตเวร์ (Gateway) เราเตอร์ (Router) และสายสื่อสารเป็นจำนวนมากที่เชื่อมต่อสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
            ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ ISP (Internet Service Provider) นั้นเป็นเสมือนผู้จำหน่ายที่จัดให้มีเส้นทางเข้าไปสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดย ISP แต่ละแห่งจะมีช่องทางการเชื่อมต่อของตนเองอยู่กับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต ด้วยสายการสื่อสารความเร็วสูงเช่น T1 เป็นต้น แม้ว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในระยะแรกจะอยู่บน พื้นฐานของการส่งข้อมูลที่เป็นข้อความ (Text) และรูปภาพ (Graphic) แต่ในปัจจุบัน ปริมาณและชนิดของข้อมูลบนเครือข่ายนี้ได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ซึ่งมีทั้งภาพเคลื่อนไหวรูปแบบต่างๆ (Graphic Animation) ข้อมูลเสียง (Audio) และวีดิโอ (Video) เป็นต้น
การตั้งชื่อบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
            เครือข่ายอินเตอร์เน็ตสร้างขึ้นจากแนวความคิดที่มีแบบแผน โดยมีการออกแบบและจัดการโดเมน (Domain) อย่างเป็นระบบเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และมีการเติบโตเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง Domain Name System (DNS) เป็นระบบจัดการแปลงชื่อไปเป็นหมายเลข IP address (name-to-IP address mapping) โดยมีโครงสร้างของฐาน ข้อมูลแบบสำดับชั้น (hierarchical) ที่ประกอบด้วย โดเมนระดับบนสุด (Top-level Domain) โดเมนระดับรอง (Second-level Domain) และโดเมนย่อย (Sub domain) ตัวอย่างเช่น www.gnu.org โดยที่ .org คือโดเมนระดับบนสุด ซึ่งแสดงถึงเป็นประเภทขององค์กรซึ่งไม่ได้ค้ากำไร .gnu คือโดเมนระดับรองซึ่งเป็นชื่อย่อของโครงการ GNU's Not Unix ซึ่งอยู่ภายใต้องค์กร Free Software Foundation (FSF) และภายใต้ชื่อโดเมนดังกล่าวอาจมีโดเมนย่อยอื่นๆ ได้อีกเป็นจำนวนมาก
            ข้อกำหนดที่สำคัญของ DNS คือ ชื่อในโดเมนลำดับบนสุดนั้น ได้มีการกำหนดชื่อเฉพาะซึ่งระบุรายละเอียดของกลุ่มเอาไว้ชัดเจนแล้ว ดังนี้
.mil แทนกลุ่มของหน่วยงานทางทหารของสหรัฐเมริกา
.gov แทนกลุ่มของหน่วยงานของรัฐบาล
.com แทนกลุ่มขององค์กรหรือบริษัทเอกชน
.net แทนองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่าย
.edu แทนสถาบันการศึกษา
.org แทนองค์กรหรือสมาคมต่างๆ ที่ดำเนินการโดยไม่ได้หวังผลกำไร
.xx ใช้ตัวอักษร 2 ตัวแทนชื่อประเทศ
ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกลุ่มของ โดเมนลำดับบนสุดอีก 7 กลุ่มคือ
.firm แทนองค์กรหรือบริษัทห้างร้านทั่วไป
.store แทนบริษัทที่มีธุรกรรมทางการค้า
.web แทนเว็บไซท์ที่ให้ข้อมูลต่างๆ
.arts แทนกลุ่มที่มีกิจกรรมทางด้านประเพณีและวัฒนธรรม
.rec แทนองค์กรหรือหน่วยงานที่ทำงานด้านนันทนาการ
.info แทนองค์กรที่เป็นผู้ให้บริการข้อมูล
.nom สำหรับบุคคลทั่วไป
            ฐานข้อมูล DNS จะทำการจับคู่ระหว่างชื่อที่ผู้ใช้จดจำได้ง่าย เข้ากับ IP Address โดยทำงานคล้ายสมุดโทรศัพท์ที่จับคู่ชื่อบุคคลต่างๆ กับหมายเลขโทรศัพท์ ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะมีการทำงานของ DNS เพื่อค้นหาหมายเลข IP ของเครื่องเป้าหมายโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
รูปที่ 4 การทำงานของ Domain Name
            เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ A ต้องการติดต่อไปยังไซท์ B ซึ่งมีชื่อโดเมน bigcats.msftcats.com ขั้นตอนแรก เครื่องคอมพิวเตอร์ A จะต้องติดต่อเข้าไปยัง DNS Server ท้องถิ่นโดยแจ้งความจำนงว่าจะติดต่อไปยังไซท์ B ถ้าเครื่อง DNS Server ท้องถิ่นมีข้อมูลของไซท์ B อยู่แล้ว ก็จะทำการส่งที่อยู่คือ IP Address ของไซท์ B กลับมาให้ทันที แต่ถ้าเครื่อง DNS Server ท้องถิ่นไม่มีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูล ก็จะส่งคำร้องขอนั้นขึ้นไปยังเครื่อง DNS Server ที่อยู่ในโดเมนระดับสูงกว่าถัดขึ้นไปตามลำดับ จนถึง Server ระดับบนสุดคือ Root Server ซึ่ง Root Server แม้จะไม่สามารถค้นหา IP Address ทั้งหมดสำหรับไซท์ B ได้ แต่ก็จะให้ข้อมูลกับ DNS Server ท้องถิ่นว่าจะต้องติดต่อไปยังหมายเลข IP Address ของ maftcats.com ซึ่งจะสามารถจะให้ IP Address ของ bigcat.msftcats.com ได้อย่างสมบูรณ์ กระบวนการค้นหาชื่อทั้งหมดนี้เรียกว่า Iterative Query เนื่องจากการร้องขอจะถูกส่งไปซ้ำๆ หลายรอบโดยผ่านเครื่อง DNS Server ขึ้นไปตามลำดับชั้น จนกระทั่งทราบ IP Address ที่แน่นอนหรือมิฉะนั้นก็จะแจ้งว่าไม่พบไซท์ดังกล่าว
เทคโนโลยีเวิลด์ไวด์เว็บ
            ในโลกของอินเตอร์เน็ตนั้น การใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ (หรือเรียกสั้นๆ ว่า เว็บ) นับว่าได้รับความนิยมมากที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่า เว็บเป็นผู้ปลุกกระแสการใช้งานอินเตอร์เน็ตให้ขยายตัวจากกลุ่มผู้ใช้งานทางด้านคอมพิวเตอร์ไปสู่กลุ่มผู้ใช้งานอื่นๆ ในทุกสาขาอาชีพ ในปัจจุบันเว็บกลายเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับวงการธุรกิจและการค้า และยังเป็นตลาดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจเกือบทุกประเภทเข้ามามีส่วนร่วม มีการทำการตลาด การโฆษณา การซื้อขาย และแม้แต่การชำระเงินซึ่งก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เว็บจึงกลายเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งของชีวิต ที่เป็นทั้งแหล่งข้อมูล แหล่งให้ความเพลิดเพลิน แหล่งซื้อหาสินค้า และบริการต่างๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน
            เทคโนโลยีพื้นฐานของเว็บนั้นประกอบด้วย พื้นฐานของ URL ที่ใช้ในการอ้างอิงถึงเว็บไซท์ต่างๆ รายละเอียดของโปรโตคอล HTTP ซึ่งเป็นโปรโตคอลพื้นฐานของเว็บ ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์และโปรแกรมบราวเซอร์ ภาษา HTML ซึ่งเป็นภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ และ CGI ซึ่งเป็นวิธีการที่จะพัฒนาโปรแกรมต่างๆ เพื่อให้ใช้งานร่วมกับเว็บได้ รายละเอียดของหัวข้อต่างๆ เหล่านี้ จะทำการอธิบายโดยสรุป ดังต่อไปนี้
            URL (Uniform Resource Locator) เป็นหลักการกำหนดชื่ออ้างอิงของทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ภายใน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นรูปแบบของ URL จึงค่อนข้างซับซ้อน โดยจะสามารถบ่งบอกชื่อหรือแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเน็ตเวิร์ก โปรโตคอลที่ใช้งาน รวมถึงพารามิเตอร์และออปชั่นต่างๆ ได้ด้วย รูปแบบของ URL มาตรฐานประกอบด้วย
            <Protocol>://<user>:<password>@<server>:<port>/<path><Protocol> จะทำหน้าที่กำหนดโปรโตคอลหรือบริการที่ต้องการจะใช้งาน ตัวอย่างเช่น HTTP เพื่อใช้อ้างถึงชื่อ เว็บไซท์ ส่วน FTP จะใช้อ้างถึงชื่อเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการดาวน์โหลดไฟล์ เป็นต้น
            <user> กำหนดชื่อของผู้ใช้งาน
            <password> รหัสผ่าน จะต้องระบุในกรณีที่ใช้งานบางโปรโตคอลที่ต้องการให้ระบุชื่อและรหัสผ่าน เช่น FTP เป็นต้น
            <server> ใช้ระบุชื่อโดเมนของเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการเข้าไปใช้งาน หรือสามารถรุบุเป็นหมายเลข IP แทนก็ได้
            <port> ในกรณีที่เซิร์ฟเวอร์มีการใช้งานหมายเลขพอร์ตพิเศษ แตกต่างจากหมายเลขพอร์ตทั่วไปของแต่ละโปรโตคอลนั้น ผู้ใช้สามารถระบุหมายเลขพอร์ตใน URL ได้
            <part> ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อไฟล์หรือชื่อไดเร็คทอรี โดยตรง
ตัวอย่างการใช้งานรูปแบบของ URL ดังนี้
http://www.nectec.or.th/public/project/ocr.html
            โดย http เป็นส่วนกำหนดโปรโตคอลที่ใช้งาน ซึ่งหมายถึงเป็นการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ ส่วน www.nectec.or.th คือชื่อโดเมนของเว็บไซท์ที่ต้องการติดต่อ ส่วน /public/project/ เป็นชื่อของเส้นทางหรือ ไดเร็คทอรีในเครื่องที่เป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ และ ไฟล์ชื่อ ocr.html คือไฟล์ในรูปแบบของ HTML ที่ต้องการเรียกใช้งาน

HTTP (HyperText Transfer Protocol) เป็นโปรโตคอลหลักที่ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนต์ของเวิลด์ไวด์เว็บ โดยถูกออกแบบให้มีความกะทัดรัด สามารถทำงานได้รวดเร็ว มีกระบวนการทำงานที่ไม่ซับซ้อน และมีคำสั่งที่ใช้งานไม่มากนัก แต่สามารถรองรับข้อมูลได้ทุกแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ หรือรูปภาพ

HTML (HyperText Markup Language) เป็นภาษาที่ใช้สร้างเว็บเพจ โดยออกแบบมาเพื่อให้โปรแกรม บราวเซอร์สามารถเข้าใจและทำงานได้ในรูปแบบของไฮเปอร์เท็กซ์ ผู้สร้างเว็บเพจจะใช้ภาษา HTML นี้ในการสร้างและจะเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เมื่อผู้ใช้งานเชื่อมต่อเข้ามาด้วยโปรแกรมบราวเซอร์ โดยระบุ URL ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้นๆ เว็บเซิร์ฟเวอร์ก็จะทำการส่งไฟล์ html ที่เก็บไว้ไปยังไคลเอนต์โดยใช้โปรโตคอล HTTP และผลลัพธ์จะถูกแสดงให้ผู้ใช้เห็นโดยผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ ภาษา HTML นี้มีรากฐานมาจากภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานกับเว็บเพจที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหว สำหรับในกรณีที่ต้องการพัฒนาให้เว็บเพจสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนไหว (Dynamic HTML) ได้นั้น จะต้องใช้ภาษาอื่น เข้ามาร่วมด้วย เช่น Javascript หรือ Vbscript เป็นต้น

CGI (Common Gateway Interface) เป็นวิธีการที่จะให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมประยุกต์อื่นๆได้ เช่น ระบบฐานข้อมูล เป็นต้น หลักการของ CGI ก็คือ กำหนดตัวแปรที่เป็นมาตรฐานสำหรับการรับส่งข้อมูลระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์และโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ ภาษาที่ใช้ในการเขียน CGI นั้น อาจเป็นภาษาสคริปต์ เช่น Perl หรือ เชลล์สคริปต์ของระบบ UNIX ก็ได้ หรือจะเขียนเป็นโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงต่างๆ ก็ได้เช่น ภาษา C/C++ เป็นต้น

XML (Extensible Markup Languageเป็นพัฒนาการล่าสุดของรูปแบบเอกสารที่แสดงบนเว็บเพจ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการสนับสนุนจาก W3C (World Wide Web Consortium) โดย XML ได้รับการพัฒนามาจาก พื้นฐานของ HTTP และ SGML (Standard Generalized Markup Language) ซึ่งตามปกติแล้ว HTML จะคำนึงถึงเฉพาะวิธีการที่เอกสารจะแสดงผลอยู่บนเว็บเท่านั้น แต่สำหรับ XML จะมีการคำนึงถึงประเภทและแหล่งที่มาของ ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ภายใต้เว็บเซิร์ฟเวอร์ด้วย รูปแบบภาษาของ XML ได้รับการออกแบบมาให้เป็นสากลสามารถรองรับข้อมูลได้ทุกภาษาในโลก โดยมีการใช้รหัสข้อมูลเป็นแบบ UTF-8 ซึ่งเป็นการเข้ารหัสที่พัฒนาขึ้นมาจากข้อกำหนดของ Unicode โครงสร้างของ XML มีการแบ่งกลุ่ม Tag เช่นเดียวกับ HTML แต่มีข้อแตกต่างคือ XML ยอมให้ผู้ใช้สามารถกำหนด Tag ที่ต้องการใช้งานเพิ่มขึ้นเองได้ตามความต้องการ โดยใช้ DTD (Document Type Definition) ซึ่งเป็นไฟล์ที่กำหนดโครงสร้างของคำสั่งใน XML อีกทีหนึ่ง ในด้านการรักษาความปลอดภัยนั้น XML สามารถเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลที่รับส่งด้วยโปรโตคอล S-HTTP ได้ และยังสนับสนุนเทคโนโลยีแบบ MOSS (MIME Object Security Service) และเทคโนโลยีด้านการรักษาความปลอดภัยแบบอื่นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย นอกจากนั้น XML ยังถูกออกแบบมาให้สามารถใช้สร้างเว็บเพจแบบไดนามิคได้ดีกว่า HTML อีกด้วย
ความสำคัญของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
            ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการค้าหรือ ISP (Internet Service Providers) ถือเป็นกระดูกสันหลังของอินเทอร์เน็ต ISP เป็นผู้บริหารจัดการคอมพิวเตอร์เครื่องหลักที่ใช้ต่อเชื่อมอินเทอร์เน็ตซึ่งเรียกกันว่า เซิร์ฟเวอร์ (Servers) เซิร์ฟเวอร์ถือเป็นจุดผ่านเข้าสู่อินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ บริการทั้งหลายISP ให้บริการต่อสาย (dial-up access) เข้าไปสู่อินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มข่าว (newsgroups) อีเมล์หรือ ห้องสนทนา (chat) ได้ ผู้ใช้บริการสามารถ บันทึกข้อมูลแบบอัพโหลด หรือดาวน์โหลด โดยวิธีการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และ ISPเป็นผู้ให้บริการกลไกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้หากมีใครต้องการสร้างเว็บไซต์ของตนเอง ISP จะเป็นผู้จัดสรรเนื้อที่และให้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อช่วยให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ค้นหาข้อมูลได้อย่างถูกต้องเมื่อมีคนขอผ่านเข้าไปดูISP จะเป็นผู้กำหนดหมายเลขที่อยู่ไอพี (IP - Internet Protocol) ให้แก่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่ใช้บริการที่อยู่ไอพี (IP Address) นี้คือหมายเลขประจำตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต และเป็นตัวบอกเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ว่าจะค้นหาคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ได้ที่ไหน ISP มีระบบเก็บบันทึก IP Address และชื่อที่อยู่ของสมาชิกที่ใช้บริการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสืบสาวไปถึงตัวนักล่อลวงเด็กทางอินเทอร์เน็ตได้ แม้ว่าผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่นิยมจ่ายค่าบริการโดยบัตรเครดิตหรือให้ส่งใบเสร็จรับเงินไปตามที่อยู่บ้าน ซึ่งทำให้ทราบหลักฐานของผู้ใช้บริการ แต่มีหลายครั้งที่ผู้ใช้บริการจำนวนมากก็ใช้ระบบการจ่ายล่วงหน้า หรือหลายคนใช้การส่งตั๋วแลกเงินหรือใช้การส่งเอกสารผ่านที่อยู่ทางตู้โปรษณีย์ ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหลักฐานของผู้ใช้บริการได้ ดังนั้น การตรวจ เบอร์โทรศัพท์ที่โทรเข้าไปที่ IP Address และเวลาที่โทรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการดำเนินการทางกฎหมายกับอาชญากรรมที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือล่อลวงเด็ก มีหลายประเทศที่เริ่มให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่คิดมูลค่า ไม่มีการคิดค่าต่อสาย มีเพียงเฉพาะค่าโทรศัพท์เท่านั้น บริการฟรีแบบนี้ไม่นิยมเก็บประวัติของผู้ใช้บริการเป็นหลักฐาน ดังนั้น จึงง่ายแก่การใช้หลักฐานปลอม ในกรณีที่มีการประกอบอาชญากรรมขึ้น ผู้รักษากฎหมายต้องอาศัยความร่วมมืออย่างเต็มที่จาก ISP เพื่อจับผู้ละเมิดกฎหมายซึ่งอาจเป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ในเครือข่าย อย่างไรก็ตาม ISP อาจกลัวว่า หากเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บริการโดยไม่ได้รับอนุญาต จะเป็นการละเมิดต่อพันธกรรมที่มีต่อลูกค้า และอาจขัดกับหลักกฎหมายด้านสิทธิส่วนบุคคลด้วย หรือหมายถึงหน่วยงานที่บริการ ให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของบริษัท เข้ากับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตทั่วโลก เสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ต้องการข้อมูลต่างๆ ก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการใช้บริการอินเตอร์เน็ต ผ่านผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป หลักการพิจารณา ISP นั้น ผู้เลือกใช้บริการ จำเป็นต้องศึกษาว่า ISP นั้นมีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูง มากเพียงใด มีสมาชิก ใช้บริการมากน้อยขนาดไหน  เพราะปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะมีผลต่อความเร็ว ในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถ เลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ
            •  ซื้อชุดอินเทอร์เน็ต สำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้
            •  สมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISPโดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียด ในการให้บริการของแต่ละที่นั้น จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด  
            ในปัจจุบันผู้ให้บริการ Internet  (ISP)  ได้มีการพัฒนา การให้บริการ Internet จากเดิม 56 K เป็นระบบ ADSL ที่มีความเร็วสูงขึ้น เช่น 128 K, 256 K, 512 K , 1M หรือมากกว่า เช่น ISP Maxnet


พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
   
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่พัฒนามาจากอาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research Projects Agency : ARPA ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านทหารที่มีผลมาจากสงครามเย็นระหว่างกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำในค่ายเสรีประชาธิปไตยที่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านการทหารให้ล้ำหน้ากว่าสหภาพโซเวียต  

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


เครื่องคอมพิวเตอร์

               อุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ ควรมีคุณสมบัติดังนี้
1.        เครื่องคอมพิวเตอร์  ที่มีหน่วยประมวลผลกลาง  (CPU)  ตั้งแต่  233  MHz  เป็นต้นไป
2.        หน่วยความจำ  (RAM)  ไม่น้อยกว่า  8  MB
3.        ฮาร์ดดิสก์  ( Hard Disk )  มีขนาดความจุ  ตั้งแต่  100  MB  ขึ้นไป
4.        ดิสก์ไดร์ฟ  ( Disk  Drive )  ขนาด  1.44 MB
5.        ซีดีไดร์ฟ  ( CD  Drive )  และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ  เช่น  ลำโพง  ไมโครโฟน  เป็นต้น  


โมเด็ม  ( Modem )
 โมเด็ม  ( Modem )  หรือ  Modulator-Demodulator  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาจิตอล  ( Digital )  จากเครื่องคอมพิวเตอร์  ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก  ( Analog )  เพื่อส่งไปตามเครือข่ายโทรศัพท์  ซึ่งเรียกว่า  Modulate  และแปลงสัญญาณ ข้อมูลแบบอนาล็อก  ( Analog ) ที่มาจากเครือข่ายโทรศัพท์กลับเป็นสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอล  ( Digital ) เพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งเรียกว่า Demodulate  โมเด็มเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการใช้งานอินเตอร์เน็ต  โดยโมเด็มได้ถูกพัฒนาให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่สูง   ปัจจุบันมีความเร็วสูงถึง 56 Kbps  ( Kilobit  per  second )

                ประเภทของโมเด็ม (Modem) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
              1.       โมเด็มแยกตามลักษณะการใช้งาน
              2.       โมเด็มแยกตามมาตรฐานการสื่อสาร และความเร็วในการรับส่งข้อมูล

                  โมเด็มแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem)
                โมเด็มติดตั้งภายในนั้น เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้กระแสไฟในการทำงานจากแผงวงจรหลัก (Mainboard) ของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นหลัก  

โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (External  Modem)
                         เป็นโมเด็มแบบติดตั้งภายนอก มีลักษณะโดยส่วนใหญ่เป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบน  ประกอบด้วยแผงวงจรโมเด็ม  ซึ่งมีไฟแสดงสถานะของการรับส่งข้อมูล  กระแสไฟฟ้าในการทำงานได้จากภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยการเชื่อมต่อนั้น จะทำการเชื่อมต่ออนุกรมแบ  RS-232C   ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำการติดตั้งที่จะทำการติดตั้งโมเด็มแบบภายนอกจะต้องพอร์ตนี้อยู่  และในปัจจุบันได้มีการนำพอร์ตแบบ  USB  (Universal Serial  Bus)  มาใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในรุ่นใหม่ๆ  โมเด็มติดตั้งภายนอกมีราคาที่สูงกว่าโมเด็มแบบติดตั้งภายใน   มีไฟแสดงสถานะของการทำงาน  และมีสวิชท์ที่ใช้สำหรับเปิด-ปิด 
โมเด็มแยกตามมาตรฐานการสื่อสารและความเร็วในการรับส่งข้อมูล
                         เป็นมาตรฐานในการกำหนดคุณลักษณะของโมเด็มต่อความเร็วในการรับส่งข้อมูล  ซึ่งในการเลือกซื้อโมเด็มนั้นจะต้องบอกถึงมาตรฐานและความเร็วในการใช้งาน  ซึ่งในองค์การพัฒนามาตรฐานสากลในเรื่องของ  การสื่อสารข้อมูล (CCITT หรือ The Consultative Committee in International Telegraphy and Telephoney)  ได้กำหนดมาตรฐานไว้ดังนี้




  
มาตรฐาน
ความเร็วในการรับส่งข้อมูล
V.22
เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่มีความสามารถในการรับส่งข้อที่มีความเร็ว  ในระดับ 1200 bps  ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีความเร็วต่ำสุด  ซึ่งปัจจุบันโมเด็มที่ใช้มาตรฐานนี้ไม่ได้นำมาใช้แล้ว
V.22 bis
เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่มีความเร็ว ในระดับ 2400  bps  ซึ่งปัจจุบันโมเด็มที่มาตรฐานนี้ราคาต่ำ
V.32
เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่มาความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วในระดับ 9600  bps
V.32bis
เป็นมาตรฐานการสื่อสารที่มาความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วในระดับ14.4  Kbps
V.34
มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วใน2ระดับคือ 28.8 K bps และ 33.6  K bps
V90
มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วในระดับความเร็วที่ 56.6K bps โดยเป็นที่นิยมและใช้งานในปัจจุบัน



ประโยชน์ที่ได้รับจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่โยงใยกันทั่วโลก มีบริการในด้านต่างๆ มากมายไว้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประโยชน์แก่ผู้ใช้ระบบเครือข่ายในรูปแบบต่างๆ   ดังนี้
การอ่าน   อินเทอร์เน็ตมีบริการอ่านบทความ  ความรู้  นวนิยาย  เรื่องสั้น จากหนังสือ  วารสารและนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้  มีบริการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ 
การค้นคว้าข้อมูล  มีบริการที่สามารถเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เราสามารถที่จะเข้าไปค้นหา ข้อมูลที่เราสนใจใน World Wide Web หรือ WWW เช่น เข้าไปค้นหาข้อมูลที่เป็นความรู้  ศัพท์  เรื่องที่กำลังเป็นที่นิยม   ทั้งข้อมูล ภาพและเสียง
ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์  มีบริการติดต่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อแนะนำบริษัท สินค้า   องค์การหรือหน่วยงานต่างๆ 
ส่งคำอวยพร  ในเทศกาลต่างๆ  มีบริการส่งการ์ดอวยพรและข้อมูลให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ  ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  บริการส่งเพลงให้ที่ต้องการส่งให้คนที่รับข้อมูล
ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร     มีบริการอ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจากมุมต่างๆ ได้ทั่วโลกโดยผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร  เช่น CNN ตลอดจนหนังสือพิมพ์ต่างๆ  ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่รวดเร็ว
บริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ  (Software  Download)  ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งบริษัทผู้ผลิตมีไว้บริการ เช่น Microsoft, ฯลฯ ซึ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีไว้บริการ เพื่อต้องการ  Down Load  โปรแกรมเพื่อไปใช้งาน  เพื่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
การค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด  (Explore Libraries) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในระบบเครือข่าย Online ไว้บริการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลและบริการอ่านหนังสือใหม่ๆ ที่มีในห้องสมุดต่างๆ